28 กันยายน 2561…จาก Redefine the Good Life เมื่อปีที่แล้วในงาน SB’17Bangkok เช่น เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายที่ถูกต้องคืออะไร รวมถึงได้“เข้าใจ”the Good Life ไม่ใช่ของคุณคนเดียว แต่เป็นthe Good Life ของส่วนรวม มาถึงปีนี้ เมื่อ “เข้าใจ” แล้ว จะ “ออกแบบ”ทางไหนดี
การแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ระดับโลกของนักธุรกิจ นักการตลาด นักสร้างแบรนด์ นักทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมสังคม รวมถึงดีไซน์เนอร์ ที่มีเป้าหมายในเรื่อง Sustainable Brand เริ่มอีกครั้งในประเทศไทย 12-13 ตุลาคม ณ พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย บางกะเจ้า ด้วยหัวข้อต่อเนื่องจากปีที่แล้วเป็นเรื่อง Redesign the Good Life
ดร.ศิริกุล เลากัยกุลผู้อำนวยการโครงการ Sustainable Brands ประจำประเทศไทย อธิบาย Theme ของ the Good Life ที่เวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ระดับโลกของ Sustainable Brand ทำงานอย่างต่อเนื่อง 3 ปี โดยปีที่แล้วเป็นปีแรกที่กระตุกความคิดกัน ว่า Redesign the Good Life คืออะไร ท่ามกลางบริบทใหม่ของโลก เมื่อเข้าใจแล้วปีนี้ปีที่ 2 เป็นคำ Redesign the Good Life เข้าใจแล้วต้อง “ปรับตัวเอง” ใหม่ จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเองแบบไหน เพือตอบโจทย์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปีหน้าจะเป็นเรื่อง Redelivery คือการส่งมอบจริงๆ the Good Life
เพราะฉะนั้นก็จะเป็น 3 ปี 3 Theme ที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลซึ่งกันและกัน !
“Redesign the Good Lifeที่เราจะไปช่วยพัฒนาบางกะเจ้าร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เราต้องรีดีไซน์ บิสซิเนส โมเดลใหม่ เราต้องดีไซน์ทำ Social Collaboration ที่ต่างคนไปทำ CSR เรามารีดีไซน์กระบวนการใหม่กันไหม มาร่วมกันทำ แทนที่จะแยกกันทำ และเราก็ดีไซน์บางกะเจ้า เราเห็นว่าควรเป็น โครงการของประเทศ ทุกคนควรจะต้องมาช่วยกัน รักษาและดูแลบางกะเจ้า มิฉะนั้นพื้นที่สีเขียวที่ใกล้เมืองที่สุดจะหมดไป ทำยังไงจะทำให้ทุกแบรนด์ทุกองค์กรลุกขึ้นมาใส่ใจร่วมมือกัน รักษาบางกะเจ้าไว้ให้เป็นสีเขียวเป็นสมบัติของคนไทย และของโลก”
ดร.ศิริกุล เลากัยกุลผู้อำนวยการโครงการ Sustainable Brands ประจำประเทศไทย เล่าถึง 4 เหตุผลสำคัญที่อยากจะให้ไปสัมผัสเวที SB’18 Bangkok เพราะ
1.บางกะเจ้าเป็นพื้นที่สีเขียวใกล้เมืองที่ใหญ่ที่สุดใน ASEAN เปรียบเสมือนเป็นปอดให้คนกรุงเทพฯ การจัดงาน ที่นี่จะเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ตื่นตัวต่อ การเข้าร่วมในการสร้าง Green Growth ให้กับบางกะเจ้า
2.ในส่วนของ Breakout Session จะจัดให้ชุมชนบางกะเจ้ามีส่วนร่วมในการระดมความคิด เพื่อให้โอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงในชุมชน
3.เป็นครั้งแรกที่เราจัดให้ Activation Hub เป็นแบบ Market Place เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าชมงานและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ทั้งจากแบรนด์ผู้สนับสนุนงานและจากชุมชน
4.เป็นครั้งแรกที่จัดงานโดยให้ผู้ร่วมงานสามารถพักค้างคืน ได้จัดเตรียมที่พักสำหรับผู้ที่สนใจสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของบางกะเจ้า สามารถเลือกพักได้ทั้งในแบบ Home Stay หรือ Resort อันเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย สร้างการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้
“วันนี้ หากเราจะลุกขึ้นมาพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือพัฒนาชุมชน ควรจะต้องมีการทำแบรนด์ แต่ถ้าไม่มีการทำแบรนด์ ก็จะเป็นเพียงการพัฒนาชุมชน จะส่งผลให้มีการเพิ่มมูลค่าค่อนข้างยากเมื่อใดก็ตามที่เราอยากให้สิ่งที่เราทำอยู่ มีความยั่งยืน มีการสานต่อ มีคุณค่าในตัวเอง เราต้องทำให้มีความเป็นธุรกิจให้ได้ เพราะถ้าไม่เป็นธุรกิจ แต่ทำมาตั้งรุ่นคุณตาคุณยายคุณพ่อคุณแม่ก็จะไม่มีทิศทาง มาถึงลูกหลานรู้สึกว่าไม่ใช่วิธีการทำมาหากินของตัวเอง ไปทำแบบอื่นง่ายกว่า”
ดร.ศิริกุล อธิบายเพิ่มเติมว่า แบรนด์ ไม่ใช่โลโก้ แต่แบรนด์คือ “ชื่อเสียง” อยากให้คนพูดถึงบางกะเจ้า ภายใต้คำว่าอะไร ต้องมีการทำแบรนด์ เพื่อให้แบรนด์บางกะเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดก ที่จะส่งมอบให้ลูกหลานได้
“การ Redesign the Good Life ในงาน SB’18 Bangkok 2 วันนี้ เราจะได้เห็นความเข้าใจที่ตรงกัน และการร่วมลงมือทำด้วยกันในการออกแบบใหม่อย่างไร รวมถึงการส่งต่อ Knowledge อย่างไร ก่อนจะถึงการส่งมอบ ซึ่งกรณีศึกษาบางกะเจ้าจะทำตรงนี้อย่างครบกระบวนการ”
แบรนด์ยั่งยืน หรือ Sustainable Brand จะเกิดขึ้นได้เมื่อแบรนด์มีเป้าหมาย ดร.ศิริกุล เคยกล่าวไว้กับสำนักข่าวไทยพับลิก้าว่า จะต้องกลับมาดูว่าเป้าหมาย (Purpose) ของธุรกิจจะเป็นอย่างไร จึงจะเป็นจุดให้แบรนด์และธุรกิจหันกลับมาสนใจสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีนัธุรกิจ นักการตลาดที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่องกว่า 10ปีที่ผ่านมาในงาน Sustainable Brand เป็นการประชุมสัมมนาด้านความยั่งยืนของแบรนด์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด จัดมาแล้วในเมืองชั้นนำทั่วโลก อาทิ San Diego, London, Barcelona, Rio de Janeiro, Buenos Aires, Tokyo, Sydney, Cape Town และ Vancouver เป็นต้น โดยทุกแห่งยึดรูปแบบหลักตามสากล แต่จะปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เหมาะสมตามแต่ละท้องถิ่น
ครั้งนี้ประเทศไทยจัดเป็นปีที่ 4 ต่อเนื่อง โดยภาคเช้าจะเป็น Plenary Session เวทีหลักที่ผู้นำทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 คน 50 แบรนด์ จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ในรูปแบบ Ted Talk คนละ 15 นาที เข้าสู่ช่วงบ่าย Breakout Session จะเป็น Session ย่อย ทำเวิร์คช้อป กับผู้บรรยายระดับโลก กับตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ และผู้ฟังมากกว่า 400 คน แน่นอนปีนี้จะมีตัวแทนจากเข้าของพื้นที่คือ ชุมชนจากบางกะเจ้าเข้าร่วม 12 เวิร์คช้อป ทั้ง 2 วัน
พบกัน 12-13 ตุลาคม 2561 ณ พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย บางกะเจ้า โดยเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์และเรือ ซึ่ง SB’18Bangkok จะจัดเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยารับส่งผู้มาร่วมงาน SB’18Bangkok จากท่าเรือคลองเตยกับพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม www.sustainablebrandsbkk.com
……………………………….