NEXT GEN

ไมโครพลาสติก สร้างมลพิษในเลือด ทารกในครรภ์ x เข้าสู่นมและเนื้อที่เรากิน

22-23 กรกฎาคม 2565…รายงานโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรด้านสิ่งแวดล้อม Plastic Soup Foundation เปิดเผยว่า 73 % ของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาทดสอบมีไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่ยังหลงเหลือ เมื่อพลาสติกสลายตัว

การวิจัยชี้ให้เห็นว่า เป็นไปได้สูงว่า พลาสติกที่มีอยู่ในอาหารเป็นปัจจัยหลักของการปนเปื้อน ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ Vrije Universiteit Amsterdam ตรวจพบอนุภาคพลาสติกใน 18 จาก 25 ตัวอย่างนมที่ทดสอบในเนเธอร์แลนด์

ตัวอย่างเนื้อวัวประมาณ 7ใน 8 ตัวอย่างพบว่า มีอนุภาคพลาสติก ในขณะที่ตัวอย่างเนื้อหมู 5 ใน 8 ตัวอย่างมีอนุภาคของพลาสติกอย่างน้อย 1 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการทดสอบเม็ดอาหารทั้งหมด 12 ตัวอย่าง และอาหารหั่นฝอยมีไมโครพลาสติก

การวิจัยนี้ พบอนุภาคเล็ก ๆ อยู่บนเลือดมนุษย์ ปอดและแม้กระทั่งทารกในครรภ์ – แต่การศึกษาครั้งใหม่ก็กําลังจุดประกายความกังวลที่รุนแรงยิ่งขึ้นด้วย เกี่ยวกับการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร

พบไมโครพลาสติกในตัวอย่างเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมในเนเธอร์แลนด์ Canva

ทั้งนี้ อาหารสัตว์อาจเป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ทีมวิจัยจากอัมสเตอร์ดัมเชื่อว่า ไมโครพลาสติกในเม็ดอาหารเป็นหนึ่งในเส้นทางการสัมผัสที่เป็นไปได้ จากนั้นอนุภาคพลาสติกก็จะเข้าสู่ร่างกาย ความเป็นไปได้อื่น ๆ คือผ่านน้ำที่ดื่ม และอากาศที่หายใจ

สิ่งนี้ยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับทุกสิ่งที่เลี้ยงในฟาร์มอาจเกิดการปนเปื้อน เมื่อปี 2021 คนงานในฟาร์มชาวอเมริกันชื่อ Emmanuel Moore ถูกไล่ออกหลังจากที่เขาโพสต์วิดีโอ TikTok ที่เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกปนเปื้อนอาหารหมูได้อย่างไร

อาหารสัตว์ได้รับการระบุเป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนไมโครพลาสติก Canva

“สัตว์สามารถดูดซับอนุภาคพลาสติกอย่างน้อยบางส่วน จากสภาพแวดล้อมที่พวกมันดำรงชีวิตอยู่” Dr Heather Leslie นักพิษวิทยาเชิงนิเวศกล่าว “การศึกษานี้ควรทําหน้าที่เป็นแรงผลักดันในการสํารวจขอบเขตการสัมผัสทั้งหมด และความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง การผลิตอาหารที่ปราศจากพลาสติก อาจเป็นวิธีหนึ่งในการลดการสัมผัสอนุภาคพลาสติกจากการทำปศุสัตว์”

การตรวจจับอนุภาคพลาสติกในตัวอย่างจํานวนน้อยเช่นนี้ ให้ข้อมูลที่สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาที่ใหญ่กว่าเดิมโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การสามารถแสดงช่วงความเข้มข้นของอนุภาคพลาสติกในอาหารสมัยใหม่ และค้นหาได้ว่ามันกินพลาสติกมาจากฟาร์มใด

ที่มา

You Might Also Like